ผู้ป่วยผ่าตัด

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
            งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อบำบัดรักษาหรือผ่าตัดส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยรักษา ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยผ่าตัดและวินิจฉัยพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทั้งก่อน ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด   เป็นงานที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคโดยการผ่าตัด  แก่ผู้ป่วยทุกประเภทที่จำเป็นต้องให้บริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด  ยึดหลักการให้การพยาบาลทั้งร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  และสังคม  โดยให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด  ปราศจากโรคแทรกซ้อนและไม่เกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด   เจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดมีพยาบาลวิสัญญีเป็นหัวหน้างานและทำหน้าที่เป็นวิสัญญีพยาบาลด้วย  วันเวลาราชการใช้ทีมเดียวกันกับทีมห้องคลอด ซึ่งปฏิบัติงานตามการมอบหมายงาน
เกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการงานห้องผ่าตัด
            1.  จัดเตรียมผู้ป่วยที่จะผ่าตัดให้พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
            2.  ดูแลและตรวจสอบความสะอาดของผิวหนังบริเวณที่จะทำการผ่าตัดให้สะอาดเพื่อลดการติดเชื้อภายหลังการผ่าตัด
             3.  จัดเตรียม เครื่องมือ เครื่องใช้ให้เพียงพอ สะอาดปราศจากเชื้อและพร้อมที่จะใช้ได้ทันที
             4.  ปฏิบัติงานในหน้าที่ของ Circulating  Nurse  และ  Scrub  Nurse  ได้เป็นอย่างดีและถูกต้อง
             5.  ให้การดูแลผู้ป่วยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ  เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อ  ในระยะก่อนผ่าตัด  ระหว่างการผ่าตัด  และติดตามเยี่ยมภายหลังการผ่าตัดทุกราย
กิจกรรมการจัดบริการ
             1.  จัดสถานที่  พื้นที่ห้องผ่าตัดแบ่งเป็น  2  ส่วน คือ
                       1.1.  Semi – Sterile  area  หมายถึง  เขตสะอาดที่อยู่หน้าห้องผ่าตัดมีประตูปิด - เปิด แยกจากภายนอก  และห้ามบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริเวณนี้  ยกเว้นกรณีที่จำเป็น จัดรองเท้าไว้สำหรับเปลี่ยนที่ประตูทางเข้า
                       1.2.  Sterile  area  หมายถึง  พื้นที่ห้องผ่าตัด ซึ่งจะต้องทำให้เป็นบริเวณที่สะอาดที่สุด  ป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค  สะดวกต่อการรักษาความสะอาด  เช่น  ฝาผนังทำด้วยกระเบื้องเคลือบ  พื้นห้องทำด้วยหินขัดที่ล้างทำความสะอาดได้   ไม่ติดมุ้งลวดและผ้าม่านต่างๆ  มีระบบเครื่องปรับอากาศ  และติดตั้งพัดลมระบายอากาศให้สูงจากพื้นประมาณ  1  ฟุต  เพื่อระบายยาระงับความรู้สึกที่ใช้กับผู้ป่วยออกไปข้างนอกและประตูห้องเป็นแบบผลักเพื่อความสะดวกในการปิด เปิด
            2.  ระบบการ Set  ผ่าตัดและการรับ-ส่งผู้ป่วยผ่าตัด  เพื่อให้เกิดการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วยต่อเนื่องระหว่างตึกผู้ป่วยและห้องผ่าตัด
            3.  การจัดหาอุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้  ให้พอเพียงและทำให้สะอาดปราศจากเชื้อ  เตรียมพร้อมที่จะใช้ได้ทันทีอยู่เสมอ
            4.  จัดเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการช่วยทำผ่าตัด  เพื่อให้เกิดความมั่นใจการผ่าตัดรวดเร็วและสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.  ดำเนินการควบคุม  ตรวจสอบเครื่องมือ  เครื่องใช้  รวมทั้งการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงให้ใช้ได้อยู่เสมอจนเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดซื้อ  จัดหาเครื่องมือทำผ่าตัดให้มีพอเพียงอยู่เสมอ
            6.  กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับ
            7.  จัดเตรียมชุดอุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องใช้ให้พอเพียง  และจัดเก็บให้เป็นระบบ  ระเบียบ สะดวกต่อการหยิบใช้อยู่เสมอ
            8.  ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการดูแลและจัดเตรียมผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
            9.  ให้การพยาบาลผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  ในระหว่างรอผ่าตัด  ขณะผ่าตัด  และติดตามเยี่ยมภายหลังผ่าตัดอย่างทั่วถึง  ตลอดจนอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการผ่าตัดให้ผุป่วยเข้าใจและสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
งานวิสัญญีพยาบาล
            เป็นงานที่วิสัญญีพยาบาลมีหน้าที่ให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น (หลังการผ่าตัด 2 ชั่วโมงหรือจนกว่าผู้ป่วยปลอดภัย) ต้องเป็นพยาบาลที่มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในการปฏิบัติงาน   และให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อความปลอดภัยของชีวิตผู้ป่วย
เกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการงานวิสัญญีพยาบาล 
             1.  ทำการตรวจสภาพร่างกายผู้ป่วยก่อนให้ยาระงับความรู้สึกอย่างถูกต้องแม่นยำ
              2.  ให้ยาระงับความรู้สึกและเฝ้าดูแลสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดขณะผ่าตัด
              3.  ให้การพยาบาลผู้ป่วยในระยะพักฟื้นอย่างถูกต้องตามเทคนิค 
กิจกรรมการจัดบริการ
              1.  การเยี่ยมและซักประวัติผู้ป่วย
                       1.1.  Elective  Case   เยี่ยมผู้ป่วยที่ตึกก่อนทำการผ่าตัด  พร้อมทั้งอธิบายถึงขั้นตอนการผ่าตัด  และการให้ยาระงับความรู้สึก
                       1.2.Emergency  Case  ซักประวัติโดยละเอียดที่ห้องผ่าตัดก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกและอธิบายวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก
              2.  จัดเตรียมเครื่องมือ  เครื่องใช้ให้พร้อมที่จะปฏิบัติงาน
              3.  ประสานงานกับทีมผ่าตัดในการเตรียมผู้ป่วย
              4.  ให้ยาระงับความรู้สึกชนิดทั่วไปและช่วยแพทย์ในการให้ยาชาเฉพาะที่
              5.  เฝ้าดูแลและให้การพยาบาลขณะให้ยาระงับความรู้สึก
              6.  เตรียมผู้ป่วยก่อนฟื้นจากยาระงับความรู้สึกโดยประสานงานกับแพทย์
              7.  ให้การพยาบาลผู้ป่วยระยะพักฟื้นอย่างใกล้ชิดจนปลอดภัย
              8.  รับผิดชอบการจัดเก็บเครื่องมือ  เครื่องใช้  และเวชภัณฑ์
              9.  ทำการส่งต่อผู้ป่วยภายหลังการทำผ่าตัด  และมีอาการอยู่ในระยะปลอดภัยแล้วไปยังตึกผู้ป่วยด้วยตนเอง

            10.  ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายหลังผ่าตัด  และได้รับยาระงับความรู้สึกทุกรายเพื่อดูอาการผิดปกติและการแก้ไขที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น