ผู้ป่วยนอก






             งานการพยาบาลผู้ป่วยนอกหรือผู้ใช้บริการสุขภาพที่มารับบริการทุกมิติ ให้การพยาบาลผู้ป่วย ผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยการคัดกรอง การปฐมพยาบาล การตรวจพิเศษ การให้คำปรึกษาและสุขภาพจิต งานตรวจสุขภาพ งานคลินิกพิเศษ งานโรคเรื้อรัง งานการส่งต่อและการบริการหน่วยปฐมพยาบาล  เป็นบริการด่านแรกของโรงพยาบาล ต้องจัดบริการตลอด  24 ชั่วโมง   เป็นงานที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยและประชาชนที่มารับบริการตรวจโรคทั่วไป  การจัดระบบบริการต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักการให้บริการที่สะดวก  รวดเร็ว  ถูกต้อง  ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
เกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการผู้ป่วยนอก
              1.  จัดระบบบริการอย่างรวดเร็ว  ถูกต้อง  เหมาะสมกับสภาพอาการ
              2.  คัดกรองผู้ป่วยตามอาการและอาการแสดงเพื่อการตรวจรักษาที่ถูกต้อง
              3.  จัดลำดับผู้ป่วยเข้าตรวจตามลำดับและระดับของความเจ็บป่วย
              4.  ให้การพยาบาลตามอาการของผู้ป่วยในกรณีอาการหนักหรือฉุกเฉิน
              5.  บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและญาติภายหลังการตรวจรักษาทุกรายเกี่ยวกับ
                   การปฏิบัติตัว
              6.  รับ ส่งต่อผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
              7.  บันทึกข้อมูลและรายงานอย่างชัดเจนถูกต้องตามความเป็นจริงและใช้เป็นหลักฐาน
                 อ้างอิงได้
งานผู้ป่วยนอกมีการจัดให้บริการต่างๆ ดังนี้
            1.  งานคัดกรองผู้ป่วย
            2.  งานหน่วยปฐมพยาบาล
            3.  งานบริการห้องตรวจโรคทั่วไปและการตรวจพิเศษ
            4.  งานคลินิกผู้ป่วยเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อ
            5.  งานบริการห้องตรวจภายใน
            6.  งานรับ ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อ
            7.  งานชันสูตรทางคดี
            8.  งานบริการให้คำปรึกษา


1.  งานคัดกรองผู้ป่วย
     1.  ซักประวัติอาการและอาการแสดงของการเจ็บป่วย  บันทึกสัญญาณชีพก่อนเข้าห้องตรวจ
     2.  จัดลำดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยเพื่อรับบริการตรวจก่อน หลัง  อย่างเหมาะสม
     3.  ให้บริการพยาบาลที่มีภาวะฉุกเฉินก่อนการพบแพทย์
2.  งานหน่วยปฐมพยาบาล
     1.  จัดหน่วยปฐมพยาบาลนอกสถานที่ในโอกาสต่างๆ
     2.  ประชาสัมพันธ์  ตอบข้อซักถาม  ชี้แจงทำความเข้าใจให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ใช้บริการในงานบริการต่างๆของกลุ่มงานการพยาบาลและโรงพยาบาล
3.  งานบริการห้องตรวจโรคทั่วไปและการตรวจพิเศษ
     1.  จัดผู้ป่วยเข้าตรวจตามลำดับก่อน หลังและตามสภาพผู้ป่วย
     2.  ให้บริการผู้ป่วยก่อนและหลังเข้ารับการตรวจตามความเหมาะสมช่วยเหลือในรายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
     3.  ช่วยแพทย์ในการตรวจผู้ป่วยบางกรณี  เช่น  เด็ก , สตรี  , ผู้สูงอายุ , ผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
     4.  ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อรับบริการหลังการตรวจ เช่น แนะนำไปห้องชันสูตร   ห้องจ่ายยาหรือแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน  และการนัดตรวจซ้ำ
4.   งานคลินิกผู้ป่วยเรื้อรังและโรคไม่ติดต่อ
      1.  จัดคลินิกผู้ป่วยเรื้อรัง  เช่น คลินิกเบาหวาน ,คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด ,คลินิกโรค
ต่อมไทรอยด์ ,คลินิกสุขภาพจิตและงานยาเสพติด , คลินิกโรคเรื้อน , คลินิกวัณโรค ,คลินิกโรคเอดส์ ,งานมิตรภาพบำบัดและจิตอาสา
      2.  นัดผู้ป่วยให้มารับบริการตามที่คลินิกกำหนด
      3.  จัดให้มีการให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
      4.  ประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในรายที่ต้องติดตามเยี่ยมบ้าน
      5.  พัฒนาเครือข่ายในชุมชนโดยการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง พิการ ผู้ป่วยที่ปัญหาสุขภาพจิต อาสาดูแล เยี่ยมเยียน และให้กำลังใจกันในกลุ่มโดยมีพยาบาลวิชาชีพผู้รับผิดชอบงานเป็นที่ปรึกษา
5.  งานบริการห้องตรวจภายใน
      1.  จัดเตรียมผู้ป่วยทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อมที่จะรับการตรวจและส่งตรวจที่กลุ่มงานเวชปฏิบัติฯ
      2.  เมื่อตรวจเสร็จให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยก่อนและหลังการให้บริการ
6.  งานรับ ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อ
    การรับผู้ป่วยเพื่อการรักษาต่อ
       1.  จัดทำการบันทึกประวัติผู้ป่วยโดยทั่วไปพร้อมทั้งแนบใบนำส่งด้วย (.. 08)
       2.  จัดให้ผู้ป่วยได้พบแพทย์เร็วกว่าผู้ป่วยทั่วไป
       3.  ให้ดำเนินการตอบกลับผลการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์
    การส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อ
       1.  มีใบนำส่งตัวผู้ป่วย (..08) ซึ่งบันทึกโดยแพทย์
       2.  จัดรถนำส่งตามความเหมาะสม
       3.  ในรายที่ผู้ป่วยอาการหนักให้มีพยาบาลนำส่งทุกครั้ง
       4.  เมื่อได้รับการตอบกลับ  ให้ลงบันทึกโดยละเอียดที่ทะเบียนส่งรักษาต่อทุกรายโดยพยาบาลผู้รับผิดชอบ
7.  งานชันสูตรทางคดี
       1.  บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา   ลักษณะของบาดแผลและการรักษาพยาบาลที่ให้อย่างละเอียดถูกต้องในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกตำแหน่งบาดแผลได้ง่าย
        2.  รับใบชันสูตรบาดแผลจากพนักงานสอบสวนแนบกับรายละเอียดชื่อ-สกุลผู้ป่วย, HN ,วันที่เข้ารับการรักษาเสนอแพทย์เพื่อลงความเห็นทางคดี
        3.  จัดทำทะเบียนรับ ส่ง ใบชันสูตรบาดแผลและบันทึกรายละเอียดทุกราย   ให้ถูกต้องให้พนักงานสอบสวนเซ็นต์รับใบชันสูตรที่บันทึกแล้วไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนทุกครั้ง
        4.  เก็บสำเนาใบชันสูตรบาดแผลไว้เป็นระเบียบเพื่อค้นหาได้ง่ายเมื่อต้องการใช้ประโยชน์ เช่นเมื่อแพทย์ต้องไปเป็นพยานในศาล 
8.  งานบริการให้คำปรึกษา
        1.  ให้บริการปรึกษากรณีทั่วไปและนิรนาม
        2.  ให้บริการกรณีฉุกเฉินหรือนอกเวลาปฏิบัติการ
        3.  พิทักษ์สิทธิของผู้มาปรึกษา
        4.  จัดทำทะเบียนผู้มารับบริการปรึกษาเพื่อการจัดทำรายงานต่อไป