ผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน





บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
          งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน การพยาบาลเพื่อช่วยชีวิต แก้ไขภาวะวิกฤติที่คุกคามชีวิต เป็นบริการด่านหน้าของโรงพยาบาล  มีการจัดบริการตลอด  24  ชั่วโมง เป็นงานบริการสำหรับผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุหรืออาการฉุกเฉินต่างๆ  ดังนั้นการจัดระบบบริการต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม  โดยยึดหลักการให้บริการที่ สะดวก  รวดเร็ว  ถูกต้อง  ผู้ป่วยปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดความพิการ








เกณฑ์มาตรฐานการจัดบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
          1.  จัดระบบบริการอย่างรวดเร็ว  ถูกต้อง  และเหมาะสมกับสภาพอาการ
          2.  สถานที่และอุปกรณ์อยู่ในสภาพพร้อมเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย
          3.  บุคลากรมีความพร้อมในด้านความรู้  ความสามารถที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม
          4.  ให้การพยาบาลตามอาการของผู้ป่วยในกรณีอาการหนักหรือฉุกเฉิน
          5.  เตรียมพร้อมในการรับอุบัติเหตุหมู่  มีการวางแผนและซ้อมแผนประจำปี
          6.  บันทึกข้อมูล และลงรายงานอย่างชัดเจน ถูกต้องตามความเป็นจริงและใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีการจัดบริการต่างๆ  ดังนี้
      1. งานบริการปฐมพยาบาล 
          1.  ให้บริการปฐมพยาบาลแก่ผู้ป่วยตามความเหมาะสม
          2.  ให้บริการฉีดยา  ทำแผล  และผ่าตัดเล็ก
          3.  จัดให้บริการตามลำดับ ตามสภาพผู้ป่วย
          4.  ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อนัดให้มารับบริการในครั้งต่อไป หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
      








  

     2. งานบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
          1.  จัดเตรียมให้พร้อมที่ให้บริการทันทีทั้งในและนอกเวลาราชการ
          2.  ซักประวัติ  สังเกตอาการ  ประเมินสภาพผู้ป่วย  เพื่อให้การปฐมพยาบาลและรายงานแพทย์
          3.  ให้การรักษาพยาบาลและลงบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด
          4.  จัดให้ผู้ป่วยได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือส่งไปรักษาต่อที่อื่นโดยมีการประสานล่วงหน้าก่อนส่งผู้ป่วยไป  หรือกลับบ้าน
          5.  ในกรณีถึงแก่กรรม ต้องเขียนใบรับรองการตายให้ญาติของผู้ตาย ซึ่งลงความเห็นและเซ็นใบรับรองการตายโดยแพทย์

          6.  มีแผนเตรียมรับอุบัติเหตุหมู่ และมีการซ้อมแผนทุกปี